มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ มี 2 สถานที่จัดการศึกษา

① มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กรุงเทพมหานคร >> แผนที่และการเดินทาง
② มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ >> แผนที่และการเดินทาง
***ใกล้ที่ไหน เรียนที่นั่น ตั้งแต่ปี 1 จนจบการศึกษา***


หลักสูตรปริญญาตรี (เทียบโอน) ภาคพิเศษ เรียนเฉพาะวันอาทิตย์ (สำหรับผู้จบ ปวส. ศึกษาต่อปริญญาตรี)


① การเข้าศึกษาต่อ

คุณสมบัติการสมัคร
➤ จบการศึกษา และมีเอกสารวุฒิการศึกษาแล้วเท่านั้น ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า (ตามสาขาวิชาที่กำหนด)

ช่วงเวลารับสมัคร
➤ รับสมัครตลอดทั้งปี สามารถตรวจสอบรอบการสมัครได้ที่ > เว็บไซต์รับสมัคร

ระบบการรับสมัคร
➤ รับตรง

หลักฐานการสมัคร
➤ รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 1.5 นิ้ว จำนวน 1 รูป (ชุดสุภาพ ชุดนักเรียน หรือชุดนักศึกษา)
➤ สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ
➤ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล 1 ฉบับ (ถ้ามี)
➤ สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
➤ สำเนาวุฒิการศึกษา 2 ฉบับ (ห้ามขีดคร่อม)

② ค่าเล่าเรียน

ทุกสาขาวิชา (ยกเว้นสาขาวิศวกรรมศาสตร์)
เทอมแรก
➤ ประมาณ 15,000 บาท/เทอม (แบ่งชำระ 2 ครั้ง)
➤ ครั้งที่ 1 ค่ารายงานตัว (ชำระเพื่อจองสิทธิ์เข้าศึกษา)
➤ ครั้งที่ 2 ค่าลงทะเบียนเรียน (ชำระช่วงเปิดเทอม)
เทอมที่สองเป็นต้นไป
➤ ประมาณ 12,000 บาท/เทอม

เฉพาะสาขาวิศวกรรมศาสตร์
เทอมแรก
➤ ประมาณ 25,000 บาท/เทอม
เทอมที่สองเป็นต้นไป
➤ ประมาณ 19,000 บาท/เทอม

ประกาศ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
https://reg.dru.ac.th/2017/pages/student_finance.php

③ การจัดการศึกษา

ทุกสาขาวิชา
จัดการศึกษาแบบ Block Course

➤ เรียนทุกวันอาทิตย์ เวลาประมาณ 8.30 น. ถึง 18.00 น. (ตามจำนวนหน่วยกิจของแต่ละวิชา)
➤ เรียนและสอบจบทีละ 1 วิชา
➤ 1 วิชา ใช้เวลาประมาณ 4-6 ครั้ง
➤ 1 เทอม ใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน
➤ หลักสูตรปริญญาตรี (เทียบโอน) ใช้เวลาศึกษาประมาณ 8 เทอม
➤ เฉพาะหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (เทียบโอน) ใช้เวลาศึกษาประมาณ 8-9 เทอม (ผู้เข้าศึกษาปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป)
➤ เฉพาะหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (เทียบโอน) ใช้เวลาศึกษาประมาณ 9-10 เทอม (ผู้เข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2566)
➤ เรียนติดต่อกันจนจบการศึกษา ไม่มีปิดเทอม
➤ ไม่มีเว้นพักระหว่างรายวิชา

การเทียบโอนรายวิชา

➤ ต้องสมัครและรายงานตัวเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยก่อน จึงมีสิทธิ์ในการเขียนคำร้องขอเทียบโอนรายวิชา โดยกระบวนการจะเริ่มหลังจากเปิดเทอมแล้ว
➤ รายวิชาที่สามารถเทียบโอนรายวิชาได้ คือ รายวิชาที่เรียนในระดับ ปวส. จะต้องมีคำอธิบายรายวิชาตรงหรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 กับรายวิชาของมหาวิทยาลัย และรายวิชานั้นต้องได้เกรด C ขึ้นไป
➤ คำร้องการเทียบโอนรายวิชา จะถูกส่งไปยังคณะที่นักศึกษาสังกัดอยู่ เป็นผู้ดำเนินการพิจารณา ซึ่งใช้เวลาพอสมควร
➤ เมื่อคำร้องถูกส่งคืนกลับมา ทางงานทะเบียนจะแจ้งให้นักศึกษามารับคำร้องคืน หากรายวิชาที่ทำเรื่องขอเทียบโอนได้รับการอนุมัติจากทางคณะ ให้นักศึกษายื่นเรื่องและชำระเงิน ประมาณรายวิชาละ 200 บาท

ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
หลักสูตร ปวส. พ.ศ. 2563
หลักสูตร ปวส. พ.ศ. 2557
หลักสูตร ปวส. พ.ศ. 2546

*หมายเหตุ : ผู้ที่จบจากสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน หรือรหัสวิชาไม่ตรงกับตัวอย่างข้างต้น กรุณาตรวจสอบคำอธิบายรายวิชาจากสถาบันที่ท่านจบมา

คำถามที่มักถูกถามบ่อย เกี่ยวกับการสมัครเรียนภาคพิเศษ เรียนเฉพาะวันอาทิตย์ เช่น เรียนกี่ปีจบ, การเทียบโอนรายวิชา ฯลฯ

④ ทุนการศึกษาและบริการต่าง ๆ

ทุนการศึกษา
– ทุนเรียนดี
– ทุนนักกีฬา
– ทุนผู้พิการ
– ทุนผู้ทำคุณประโยชน์
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา : กยศ. (เฉพาะผู้ที่ยังไม่มีงานประจำทำ)
➤ งานทหาร
– ผ่อนผันทหาร (ต้องยื่นเรื่องตามกำหนดของมหาวิทยาลัย)
ห้องสมุด
➤ ศูนย์คอมพิวเตอร์
ศูนย์ภาษา

รายละเอียดทุนการศึกษาและบริการต่าง ๆ
https://sp.dru.ac.th/new/?page_id=7277

รายละเอียดหลักสูตรอื่น ๆ

หลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี) ภาคปกติ เรียนวันจันทร์-ศุกร์ (สำหรับผู้จบ ม.6, ปวช., กศน.มัธยมปลาย ศึกษาต่อปริญญาตรี)

หลักสูตรปริญญาตรี (เทียบโอน) ประมาณ 2 ปี ภาคปกติ เรียนวันจันทร์-ศุกร์ (สำหรับผู้จบ ปวส. ศึกษาต่อปริญญาตรี)

หลักสูตรปริญญาตรี ภาคพิเศษ เรียนเฉพาะวันอาทิตย์ (สำหรับผู้จบ ม.6, ปวช., กศน.มัธยมปลาย ศึกษาต่อปริญญาตรี)

หลักสูตรปริญญาตรี (เทียบโอน) ภาคพิเศษ เรียนเฉพาะวันอาทิตย์ (สำหรับผู้จบ ปวส. ศึกษาต่อปริญญาตรี)